วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนออกมานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ ซึ้งเป็นสื่อที่อาจารย์สั่งไว้ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว ในการทำสื่อวิทยาศาสตร์นี้จะต้องเป็นการใช้อุประกรณ์จากวัสดุเหลือใช้หรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ โดยเพื่อนๆที่ทำสื่อมานำเสนอวันนี้ต้องเป็นสื่อที่เหมาะแก่การนำไปใช้สอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ อาจจะเป็นเรื่องของอากาศ ลม แสง เป็นต้น
ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ
ตัวอย่างการนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์
1. กีต้าจากหลอด
สิ่งที่เกิด ในขณะที่เราดีดยางที่ทำเป็นสายกีต้านั้นจะเห็นว่าถ้าหลอดมีความกว้างมากเสียงที่เราดีดก็จะดังมาก หากหลอดแคบลงเราก็จะได้ยินเสียงดีดเบาลง
2.ไหมพรมเต้นระบำ
สิ่งที่เกิด ในการที่เราเป่าลมผ่านไปในหลอดที่มีไหมพรมร้อยอยู่นั้นยิ่งเราเป่าแรงมากเท่าไหร่ไหมพรมก็จะลอยแรงและเร็วเท่านั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับลมที่เราเป่าเกิดเป็นอากาศที่เคลื่อนที่และลมมีแรงดันทำให้ไหมพรมลอยได้
3. ลูกโป่งลอยฟ้า
สิ่งที่เกิด ในขณะที่เพื่อนเป่าลมผ่านหลอดแล้วนำลูกปิงปองใส่ไว้ด้านบนทำให้เกิดการลอยตัวของลูกปิงปองขึ้น ซึ้งเกิดจากลมที่เพื่อนเป่าแล้วเกิดเป็นแรงลมดันลูกปิงปองลอยตัวขึ้น
4. เรือดำน้ำ
สิ่งที่เกิด ในขณะที่เพื่อนอธิบายการเล่นเราจะเรียนรู้ถึงการที่เราใช้น้ำเป็นตัวที่เท่ใส่เรือเพื่อที่น้ำนั้นจะเป็นแรงดันเรือทำให้เรือแล่นหมุนไปได้
สื่อวิทยาศาสตร์ของฉัน(ชื่อถุงโปร่งพอง)
อุปกรณ์การทำ
1.ท่อ PVC
2. ถุงพาสติก
3. หนังยาง
4. กรรไกร
5. กระดาษสี
6. กาว
ขั้นตอนการทำ
1. นำกระดาษสีมาพันรอบท่อ pvc แล้วนำกาวมาติดให้แน่นๆเพื่อไม่ให้กระดาษหลุดได้
2. นำกระดาษมามัดใส่กับท่อ PVC แล้วนำเอาหนังยางมาลัดตรงปลายระหว่างถุงพาสติกกับท่อ PVC
3. นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ
วิธีการเล่น
เด็กสามารถเล่นได้อย่างง่ายแค่เป่าลมเข้าไปในถุงพาสติก โดยผ่านท่อ PVC
สิ่งที่เด็กได้รับและได้สังเกต
เด็กจะได้สังเกตลมที่เราเป่าเข้าไปในถุงพาสติกว่าก่อนที่เราจะเป่ามันเป็นรูปร่างอย่างไร และหลังจากที่เป่าลมเข้าไปแล้วถุงพาสติกจะเปลี่ยนเป็นรูปร่างอย่างไร เด็กๆยังได้เรียนเกี่ยวกับอากาศเหล่านี้มากขึ้นว่าการที่เป่าลมเข้าไปในถุงพาสติกนั้นเมื่อลมที่เป็นอากาศเข้าไปในถุงพาสติกก็จะทำให้อากาศกระจายตัวออกจากกันทำให้ถุงพาสติกพองโตขึ้นเป็นรูปร่างต่างๆ
หมายเหตุ : นี้เป็นหน่วยส้มของกลุ่มดิฉันที่ปรับปรุงแก้ไขเสร็จแล้ว (อาจารย์ให้นำโพติในบล็อก)
การนำไปประยุกต์ใช้
เราสามารถนำสื่อวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆเหล่านี้ไปปรับเปลี่ยนหรือเป็นแนวทางในการไปประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์สอนเด็กๆได้ ซึ่งเป็นสื่อที่ใช้สอนได้จริง ทำได้ง่ายๆ และเรายังใช้สื่อเหล่านี้เป็นการเชื่อมโยงในการเรียนเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ในหน่วยต่างๆได้
การประเมินผล
ตนเอง : วันนี้ตั้งใจดูการนำเสนอสื่อของเพื่อนๆเป็นอย่างดี และชื่นชอบสื่อของเพื่อนๆมาก
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างประดิษฐ์สื่อกันได้ดีมากมีการแตกต่างและเป็นสื่อที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ดีมาก
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำไปสอนเด็กๆ และอาจารย์ก็ได้ให้คำชี้แนะเกี่ยวกับการทำสื่อที่ดีและคงทนเพิ่มเติมให้กับเพื่อนๆอกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น