คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 21 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557






                    วันนี้อาจารย์เริ่มการสอนโดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ออกมานำเสนอสื่อ ซึ่งสื่อเหล่านี้จะมีความสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ โดยจะประดิษฐ์สื่อจากวัสดุเหลือใช้ หรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติก็ได้




ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์สัปดาห์ที่ 2




ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์สัปดาห์ที่ 2

1. ชื่อสื่อแก้วส่งเสียง
              
             สิ่งที่เกิด  เมื่อนำแก้วพาสติกเจาะรูตรงกลางก้นแก้วแล้วนำหลอดไปเสียบใส่ในรูที่เจาะเมื่อเราดึงหลอดขึ้นลงไปมามันก็จะเกิดเสียงขึ้น ซึ่งเสียงนี้จะเกิดจากการเสียดสีของหลอดกับช่องว่างของก้นแก้วทำให้อากาศไปกระทบกับผนังแก้วเลยเกิดเป็นเสียงขึ้น

2. ชื่อสื่อแก้วเต้นรำ

              สิ่งที่เกิด  เมื่อนำแก้วพาสติกมาเจาะรูตรงก้นแก้วแล้วนำเชือกมาผูกร้อยระหว่างแก้วที่1 กับแก้วที่ 2 แล้วนำเศษถุงพาสติกผูกตรงกลางเชือกระหว่างแก้ว 2 ข้าง เมื่อนำแก้วมาซ้อนกันเราจะเป่าลมเข้าไปในช่องระหว่าง 2 แก้ว จะทำให้แก้วกระโดดออกจากกัน เป็นเพราะการที่เราเป่าลมใส่ในช่องว่างของแก้วนั้นลมจากที่เราเป่าก็เป็นอากาศที่เข้าไปดัดก้นแก้วที่ติดกันอยู่ดัดแก้วออกมา

3. ชื่อสื่อผึ้งลอยน้ำ

              สิ่งที่เกิด    เมื่อเรานำขวดนมมาติดกับกระดาษแข็งที่ทำเป็นปีกของผึ้งนั้นเมื่อเรานำไปลอยน้ำผึ้งก็สามารถลอยได้โดยไม่จม เป็นเพราะการทำปีกที่แข็งและปีกเป็นตัวต้านลมที่จะช่วยพยุงตัวผึ้งไม่ให้เอียงและจม

4. ชื่อสื่อดอกไม้หมุนได้

               สิ่งที่เกิด    เมื่อนำแผ่น CD มาติดทำเป็นดอกไม้ติดใส่กับไม้ตะเกียบที่ทำเป็นก้านดอกไม้ เมื่อเราเป่าลมใส่ด้านข้างของแผ่น CD จะทำให้แผ่น CD หมุนเป็นวงกลม เป็นเพราะว่าเมื่อเราเป่าลมใส่แผ่นนั้น ลมที่เป็นอากาศนี้ก็จะเป็นตัวดัดแผ่น CD ทำให้มันหมุนเป็นวงกลม


                
                 หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์เสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ได้สอนและอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนเพิ่มเติม ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายการเขียนของแต่ละหน่วยให้ฟัง พร้อมกับยกตัวอย่างวิธีการสอนในแต่ละหน่วยเพิ่มด้วย ซึ่งอาจารย์บอกว่าในการสอนในแต่และวัน หรือแต่ละหน่วยนั้นควรที่จะมีการเขียนดังนี้ 1. ขั้นนำ   2. ขั้นสอน   3. ขั้นสรุป    

เช่น  1. ขั้นนำ    
             - นำด้วยการร้องเพลง
             - นำด้วยนิทาน
             - นำด้วยคำคล้องจอง

        2. ขั้นสอน
            - สอนจากสถานที่จริง
            - สอนผ่านสื่อของหน่วยนั้นๆ
            - สอนด้วย VDO
            - สอนโดยการจัดกิจกรรม เช่น เกม / เล่านิทาน / บทบาทสมมุติ

        3. ขั้นสรุป
            - สรุปโดย Mind  map
            - สรุปโดยการวาดภาพ
            - สรุปด้วยเพลง


หมายเหตุ : สัปดาห์หน้าอาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาเตรียมสื่อที่จะนำมาสอนเกี่ยวกับหน่วยของกลุ่มตัวเอง เพื่อจะนำมานำเสนอให้เพื่อนในชั้นดู


การนำไปประยุกต์ใช้

              เราสามารถนำคำอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนนี้ไปปรับใช้ในการเขียนแผนในรายวิชาอื่นๆได้ และเรายังสามารถนำตัวอย่างที่อาจารย์ได้ยกขึ้นมานั้นเป็นแนวทางในการนำไปจัดกิจกรรม หรือนำไปจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กๆได้

การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ตั้งใจในการฟังเพื่อนๆนำเสนอสื่อ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเป็นอย่างดี

เพื่อน  :  วันนี้เพื่อนๆต่างเตรียมตัวในการนำเสนอสื่อเป็นอย่างดี และเพื่อนๆก็ตั้งใจฟังอาจารย์พูดและอธิบายดีมาก

อาจารย์  :  วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนได้ชัดเจนมาก และอาจารย์ก็ยังยกตัวอย่างในการจัดกิจกรรมได้ชัดเจน และเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น




  


วันนี้เรียนสนุกมากเลยเจอกันสัปดาห์หน้าจ้า

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 14 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557







                วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนออกมานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ ซึ้งเป็นสื่อที่อาจารย์สั่งไว้ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว ในการทำสื่อวิทยาศาสตร์นี้จะต้องเป็นการใช้อุประกรณ์จากวัสดุเหลือใช้หรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ โดยเพื่อนๆที่ทำสื่อมานำเสนอวันนี้ต้องเป็นสื่อที่เหมาะแก่การนำไปใช้สอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ อาจจะเป็นเรื่องของอากาศ ลม แสง เป็นต้น 




ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ


ตัวอย่างการนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์

1. กีต้าจากหลอด
                  สิ่งที่เกิด   ในขณะที่เราดีดยางที่ทำเป็นสายกีต้านั้นจะเห็นว่าถ้าหลอดมีความกว้างมากเสียงที่เราดีดก็จะดังมาก หากหลอดแคบลงเราก็จะได้ยินเสียงดีดเบาลง

2.ไหมพรมเต้นระบำ
                   สิ่งที่เกิด    ในการที่เราเป่าลมผ่านไปในหลอดที่มีไหมพรมร้อยอยู่นั้นยิ่งเราเป่าแรงมากเท่าไหร่ไหมพรมก็จะลอยแรงและเร็วเท่านั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับลมที่เราเป่าเกิดเป็นอากาศที่เคลื่อนที่และลมมีแรงดันทำให้ไหมพรมลอยได้

3. ลูกโป่งลอยฟ้า
                   สิ่งที่เกิด    ในขณะที่เพื่อนเป่าลมผ่านหลอดแล้วนำลูกปิงปองใส่ไว้ด้านบนทำให้เกิดการลอยตัวของลูกปิงปองขึ้น ซึ้งเกิดจากลมที่เพื่อนเป่าแล้วเกิดเป็นแรงลมดันลูกปิงปองลอยตัวขึ้น

4. เรือดำน้ำ
                    สิ่งที่เกิด    ในขณะที่เพื่อนอธิบายการเล่นเราจะเรียนรู้ถึงการที่เราใช้น้ำเป็นตัวที่เท่ใส่เรือเพื่อที่น้ำนั้นจะเป็นแรงดันเรือทำให้เรือแล่นหมุนไปได้




สื่อวิทยาศาสตร์ของฉัน(ชื่อถุงโปร่งพอง)


 


อุปกรณ์การทำ

1.ท่อ PVC
2. ถุงพาสติก
3. หนังยาง
4. กรรไกร
5. กระดาษสี
6. กาว


ขั้นตอนการทำ




               1. นำกระดาษสีมาพันรอบท่อ pvc แล้วนำกาวมาติดให้แน่นๆเพื่อไม่ให้กระดาษหลุดได้




                 2. นำกระดาษมามัดใส่กับท่อ PVC แล้วนำเอาหนังยางมาลัดตรงปลายระหว่างถุงพาสติกกับท่อ PVC 




                            3. นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ


วิธีการเล่น 

            เด็กสามารถเล่นได้อย่างง่ายแค่เป่าลมเข้าไปในถุงพาสติก โดยผ่านท่อ PVC


สิ่งที่เด็กได้รับและได้สังเกต

              เด็กจะได้สังเกตลมที่เราเป่าเข้าไปในถุงพาสติกว่าก่อนที่เราจะเป่ามันเป็นรูปร่างอย่างไร และหลังจากที่เป่าลมเข้าไปแล้วถุงพาสติกจะเปลี่ยนเป็นรูปร่างอย่างไร เด็กๆยังได้เรียนเกี่ยวกับอากาศเหล่านี้มากขึ้นว่าการที่เป่าลมเข้าไปในถุงพาสติกนั้นเมื่อลมที่เป็นอากาศเข้าไปในถุงพาสติกก็จะทำให้อากาศกระจายตัวออกจากกันทำให้ถุงพาสติกพองโตขึ้นเป็นรูปร่างต่างๆ 





หมายเหตุ : นี้เป็นหน่วยส้มของกลุ่มดิฉันที่ปรับปรุงแก้ไขเสร็จแล้ว (อาจารย์ให้นำโพติในบล็อก)




การนำไปประยุกต์ใช้

               เราสามารถนำสื่อวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆเหล่านี้ไปปรับเปลี่ยนหรือเป็นแนวทางในการไปประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์สอนเด็กๆได้ ซึ่งเป็นสื่อที่ใช้สอนได้จริง ทำได้ง่ายๆ และเรายังใช้สื่อเหล่านี้เป็นการเชื่อมโยงในการเรียนเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ในหน่วยต่างๆได้


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ตั้งใจดูการนำเสนอสื่อของเพื่อนๆเป็นอย่างดี และชื่นชอบสื่อของเพื่อนๆมาก

เพื่อน  :  วันนี้เพื่อนๆต่างประดิษฐ์สื่อกันได้ดีมากมีการแตกต่างและเป็นสื่อที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ดีมาก

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำไปสอนเด็กๆ และอาจารย์ก็ได้ให้คำชี้แนะเกี่ยวกับการทำสื่อที่ดีและคงทนเพิ่มเติมให้กับเพื่อนๆอกด้วย





วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 7 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557









หมายเหตุ  :  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบ และเพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัวในการอ่านหนังสือสอบอย่างเต็มที่ 












 


สู้ สู้ นะเพื่อนๆ 







วัน อังคาร ที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ.2557









              วันนี้อาจารย์ได้เริ่มการสอนจากการที่อาจารย์แจกกระดาษให้กับแต่ละแถวคนละ 1 แผ่น ซึ่งแต่ละแถวอาจารย์อาจารย์ให้ตัดกระดาษและพับกระดาษที่แตกต่างกันออกไปเป็นการประดิษฐ์กังหันเล็ก ซึ่งหลังจากที่แต่ละแถวพับและตัดเสร็จอาจารย์ก็ให้แต่ละแถวออกมาทำให้เพื่อนๆดูจนถึงแถวสุดท้ายเพื่อนให้เห็นถึงความแตกต่างของการประดิษฐ์กังหันเล็กของแต่ละแถวว่าแตกต่างกันอย่างไร และเพราะอะไร ซึ่งการประดิษฐ์กังหันมีลักษณะ ดังนี้


ตัวอย่างกังหัน



กิจกรรมที่ 1 การประดิษฐ์กังหัน


ความแตกต่างของกังหันแต่ละแถว

 แถวที่ 1  กังหันแถวนี้หมุนได้เร็วและนานเพราะเกิดจากการพับกระดาษที่ถูกลักษณะในการทำปีกเพื่อให้ต้านกับอากาศได้ดี
      
 แถวที่ 2  กังหันหมุนได้เร็วแต่หมุนอยู่ได้ไม่นานนักเพราะอาจเกิดจากการการพับกระดาษและวิธีการโยนที่แตกต่างกัน

 แถวที่ 3  กังหันแถวนี้ไม่ค่อยหมุนอาจเกิดจากการพับกระดาษที่ไม่ถูกลักษณะในการทำปีกต้านอากาศทีดีสักเท่าไหร่และอาจเกิดจากวิธีการโยนของแต่ละบุคคลที่บางคนอาจโยนได้สูง และอาจโยนได้ต่ำ

 แถวที่ 4  แถวนี้ได้มีการแก้ไขและปรับเปลี่ยนจากที่สังเกตจากแถวอื่นๆในเรื่องของการเปลี่ยนวิธีการโยน การตัดและการพับกระดาษ ซึ่งยังมีการทดลองการลอยตัวของกังหันก่อนนำมาสาธิตให้เพื่อนดู แถวนี้จึงได้กังหันที่หมุนได้เร็วและลอยตัวอยู่บนอากาศได้นานกว่าแถวอื่นๆ




กิจกรรมที่ 2 การประดิษฐ์ของเล่น

              กิจกรรมนี้เป็นการประดิษฐ์ของเล่นง่ายๆโดยเราสามารถให้เด็กๆประดิษฐ์เองได้ และนำไปเล่นได้จริงๆ ซึ่งของเล่นนี้จะสอดแทรกเกี่ยวกับเรื่องของทางเดินอากาศที่มีการเคลื่อนที่ โดยมีอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ และวิธีการเล่น ดังนี้





ตัวอย่างการประดิษฐ์ของเล่น



การประดิษฐ์ของเล่น

อุปกรณ์
1. แกนกระดาษทิชชู
2. เชือก
3. กระดาษ
4. สี
5. ดินสอ
6. กรรไกร

ขั้นตอนการทำ
1. นำแกนกระดาษทิชชูเจาะรูทั้ง 2 ข้างให้ตรงกัน
2. นำเชือกมาร้อยใส่กับแกนกระดาษทิชชูทั้ง 2 ข้าง แล้วผูกปลายเชือกติดกัน
3. นำกระดาษมาตัดเป็นรูปวงกลม แล้ววาดรูปตามจิตนาการณ์พร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม
4. นำกระดาษที่วาดรูปตกแต่งเรียบร้อยแล้วมาติดใส่ตรงกลางของแกนกระดาษทิชชู

วิธีการเล่น
            นำเชือกมาแขวนคอแล้วให้แกนกระดาษทิชชูอยู่ด้านล่าง เพื่อที่เราจะใช้มือทั้ง 2 ข้างดึงเชือกด้านล่างสลับไปมาขณะที่เราดึงเชือกสลับไปมาอยู่นั้นแกนกระดาษทิชชูจะขยับและลอยตัวขึ้นมาเรื่อยๆ


หมายเหตุ : ถ้าดึงเชือกไม่ถูกวิธีแกนกระดาษทิชชูจะไม่เลื่อนขึ้น







สรุปบทความที่ 1






สรุปบทความที่ 2 





การนำไปประยุกต์ใช้
    
                เราสามารถนำการประดิษฐ์ของเล่นแบบง่ายๆนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับเด็กได้จริง และเรายังสามารถนำการประดิษฐ์กังหันไปสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องของอากาศและลมได้  เราอาจจะนำหลักการประดิษฐ์เหล่านี้เป็นแบบอย่างในการไปประดิษฐ์ของเล่นอื่นๆได้


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้สนุกสนานกับการประดิษฐ์ของเล่นมากและยังได้รับความรู้เรื่องอากาศที่ใช้ของเล่นเป็นสื่อในการสอนได้มากขึ้น

เพื่อน : เพื่อนๆต่างก็ตั้งใจในการประดิษฐ์ของเล่นกันเป็นอย่างดี เพื่อนๆต่างคนต่างมีเทคนิคในการประดิษฐ์ที่แตกต่างกันออกไป

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคในการนำสื่อของเล่นมาปยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดีมาก และเป็นการสอนที่ดึงดูดความสนใจและไม่น่าเบื่อกับการเรียน เป็นการสอนที่ได้ท้งความรู้และความสนุกสนาน




 


วันนี้สนุกมากเลย  ไว้เจอกันใหม่นะจ๊ะ