คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557







               วันนี้อาจารย์ให้นักเรียนกลุ่มที่เหลือจากอาทิตย์ที่แล้วออกมานำเสนอแผนของตนเอง ซึ่งวันนี้เป็นการนำเสนอ ชนิด ลักษณะ ของแต่ละหน่วย ดังนี้







1.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงประกอบท่าทาง "เพลง ชนิดของส้ม"

                                  ส้ม ส้ม ส้ม                         หนูรู้จักส้มหรือเปล่า
                                  ส้มมีหลากหลายไม่เบา     ทั้งส้มเขียวหวาน ส้มจีน
                                  อีกทั้งส้มเช้ง โชกุล           หนูๆลองทานส้มเอ่ย
                     
2.ครูถามเด็กว่าจากเพลงที่ร้องมีส้มอะไรบ้าง และเด็กๆรู้จักส้มอะไรบ้างนอกจากในเนื้อเพลง



1.ครูนำตะกร้าโดยมีผ้าปิดไว้มาให้เด็กดู จากนั้นครูให้เด็กทายว่าข้างในตะกร้ามีอะไร
2.ครูเปิดผ้าแล้วหยิบส้มจากตะกร้ามาให้เด็กสังเกต และตอบว่าเป็นส้มชนิดใดจนครบ
3.ครูให้เด็กๆช่วยกันนับส้มทั้งหมด พร้อมให้ตัวแทนออกมาหยิบป้ายตัวเลขฮินดูอารบิกปักกำกับไว้
4.ครูให้เด็กหยิบส้มแมนดารินแยกออกจากกลุ่มจนหมด แล้วถามเด็กๆว่าส้มแมนดารินกับที่ไม่ใช่ส้มแมนดาริน ส้มชนิดไหนมีมากกว่ากัน
5.ให้เด็กพิสูจน์โดยให้เด็กออกมาจับคู่แบบ 1 ต่อ 1 ถ้ากลุ่มใดหมดก่อนแสดงว่ากลุ่มนั้นน้อยกว่า ถ้ากลุ่มใดยังเหลือแสดงว่ากลุมนั้นน้อยกว่าแล้วนับจำนวนที่เหลือว่ามากกว่าเท่าไหร่




ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงชนิดของส้ม และร่วมกันต่อจิ๊กซอร์รูปส้ม





ตัวอย่างภาพการสอน


                กลุ่มนี้เป็นกลุ่มดิฉันเอง ซึ่งเป็นการสอนเกี่ยวกับชนิดของส้ม และมีการบูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับพร้อมกับกำกับเลขฮินดูอารบิก การเปรียบเทียบ จำแนก โดยมีการต้องคำถามให้เด็กตอบ

                คำแนะนำอาจารย์ ควรฝึกการเรียงลำดับขั้นตอนการสอนให้ฟังราบรื่นมากกว่านี้ และควรฝึกพูดในการตั้งคำถามให้เหมาะสม



กลุ่มที่ 1 หน่วยสับปะรด



             กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อประโยชน์ของสับปะรด ซึ่งกลุ่มนี้ได้สาธิทการทำน้ำสัปะรด โดยสอนถึงขั้นตอนการทำพร้อมกับอธิบายและสาธิท
             คำแนะนำอาจารย์ ไม่ศึกษาถึงการทำน้ำสับปะรดให้ถูกต้องและเหมาะแก่การนำมาสอนเด็ก และควรมีการแนะนำถึงอุปกรณ์ให้เด็กๆได้รู้จักก่อน


กลุ่มที่ 2 หน่วยดิน




             กลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับชนิดของดิน ซึ่งได้เริ่มขั้นนำโดยการพูดคำคล้องจอง และมีการนำดินจริงมาเป็นสื่อเพื่อให้เด็กๆได้เห็นของจริง

             คำแนะนำอาจารย์ ควรไปฝึกการพูดให้เหมาะสม และควรเปลี่ยนรูปภาพของดินให้ใช้ดินเป็นของจริงๆแทน และควรปรับการเรียงชนิดของดินให้เป็นแนวเดียวกันเพื่อไม่ทำให้เด็กสับสน



กลุ่มที่ 3 หน่วยทุเรียน




กลุ่มนี้ได้สอนเกี่ยวกับลักษณะของทุเรียน ซึ่งมีทุเรียนอยู่ 2 พันธ์ คือ พันธ์หมอนทอง กับพันธ์ชนี โดยกลุ่มนี้มีการใช้ภาพทุเรียนแต่ละพันธ์เป็นสื่อในการสอนเพื่อใช้แทนของจริง

คำแนะนำอาจารย์ ควรฝึกการพูดและฝึกในขั้นตอนการสอนให้เห็นถึงลำดับการสอนที่ถูกต้อง และควรมีการใช้ตารางเปรียบเทียบทุเรียน 2 พันธ์ให้ถูกต้อง แล้วควรนำมาหาความสัมพันธ์



กลุ่มที่ 4 หน่วยน้ำ





             กลุ่มนี้ได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องน้ำ โดยใช้การทดลองเกี่ยวกับลักษณะของน้ำ กับการเดินทางของน้ำ ซึ่งมีการทดลองอยู่ 3 วิธี คือ 1.การทอลองลักษณะของน้ำ(การใช้ภาชนะที่ต่างกัน)  2.การทดลองเกี่ยวกับการเดินทางของน้ำ(เดินทางจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ) 3.การทอลองการเปลี่ยนสถานะ(ของแข็งเป็นของเหลว)

            คำแนะนำอาจารย์ ควรมีการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กตอบ และควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทดลองด้วยโดยอาจจัดแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นฐาน



กิจกรรมไข่หรรษา(อาจารย์เป็นผู้จัด)

             หลังจากที่นักเรียนได้นำเสนอเกี่ยวกับหน่วยต่างๆเสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็ให้นักเรียนได้ไปร่วมกิจกรรมของอาจารย์เกี่ยวกับการทำขนมครกไข่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อาจารย์เป็นคนจัดเตรียม และอาจารย์ได้มีการจัดกิจกรรมในขั้นตอนการทำออกเป็นฐานมีทั้งหมด 5 ฐาน เพื่อให้เห็นถึงวิธีการสอนเด็กทำอาหารอย่างถูก และให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรม ซึ่งจะแบ่งนักเรียนอยู่ในฐานออกเป็นฐานละ 5 คน มีฐาน 5 ฐาน ดังนี้


ฐานที่ 1  ฐานตัดกระดาษ


 


ฐานนี้จะเป็นฐานแรกที่จะให้เด็กๆช่วยกันตัดกระดาษเป็นวงกลมเพื่อเตรียมรองใส่อาหาร



ฐานที่ 2  ฐานหั่นผัก





ฐานนี้เป็นฐานหั่นผักเพื่อเตรียมนำผักที่หั่นไปให้กับฐานที่ปรุงอาหาร



ฐานที่ 3 ฐานตอกไข่ ตีไข่




ฐานนี้เป็นฐานที่จะต้องตอกไข่ ตีไข่ เพื่อจะนำไปให้กับฐานที่ปรุงอาหาร



ฐานที่ 4 ฐานปรุงอาหาร




                          ฐานนี้เป็นฐานที่จะต้องปรุงอาหารก่อนที่จะนำไปทำ ซึ่งเครื่องปรุงในการทำอาหารมี ดังนี้ หอม ซีอิ๊ว ปูอัด แครอท ซอส ข้าว ไข่


ฐานที่ 5 ฐานทำอาหาร





ฐานนี้เป็นฐานสุดท้ายเป็นฐานที่ต้องลงมือปฏิบัติทำขนมครกไข่ 



            กิจกรรมการทำอาหารที่แบ่งเป็นฐานๆนี้เมื่อเรานำไปสอนเด็กเราก็ควรทำเป็นฐาน เพื่อเด็กๆจะได้ร่วมทำอาหารร่วมกัน และในฐานแต่ละฐานเด็กๆจะต้องหมุนเวียนเปลี่ยนกันทำให้ครบทุกฐาน เพื่อเด็กๆจะได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนการทำได้ครบถ้วนทุกขั้นตอน



การนำไปประยุกต์ใช้

         เราสามารถนำคำแนะนำของอาจารย์เกี่ยวกับการสอนแผ่นต่างๆไปปรับแก้ไขเพื่อนำไปสอนเด็กได้ และในกิจกรรมการทำขนมครกไข่ของอาจารย์นี้เราก็สามารถนำไปเป็นแนวทางในการนำไปสอนเด็ก โดยใช้การแบ่งฐานเพื่อให้เด็กได้ร่วมกิจกรรม และรู้ถึงขั้นตอนการทำ

การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ได้ทั้งความรู้เกี่ยวกับการสอน และการวางแผนในขั้นตอนการสอนที่ถูกต้อง และยังสนุกสนานกับการได้ทำขนมครกไข่

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างสนุกสนานกับการทำกิจกรรมมาก และยังตั้งใจให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนได้ชัดเจนมาก และอาจารย์ยังมีการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนได้ทำ เพื่อให้เห็นถึงขั้นตอนการสอนที่ชัดเจนมากขึ้น






    

วันนี้สนุกมากเลยไว้เจอกันสัปดาห์หน้านะจ๊ะเพื่อนๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น