คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 2 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2557






                  วันนี้อาจารย์เริ่มการสอนโดยให้เพื่อนๆที่ยังไม่นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูให้ออกมานำเสนอให้ครบทุกคน และวันนี้อาจารย์ก็มีการเช็คว่าใครยังไม่ส่งงานบ้าง และหลังจากการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเสร็จ อาจารย์มีกิจกรรมการแผ่นผับเพื่อนำไปเป็นการขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง ซึ่งอาจารย์ให้จับกลุ่มเดิมที่เป็นกลุ่มแผนหน่วยต่างๆพร้อมกับแจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มได้ทำ ซึ่งมีหัวข้อในการทำแผ่นผับ ดังนี้ 1.ออกแบบหน้าปก  2.สาระผู้ปกครอง  3.เล่าสู่กันฟัง  4.เพลง  5.เกม 6. ผู้จัดทำ โดยดิฉันสรุปการทำแผ่นผับของกลุ่มดิฉันเป็น mind map ได้ ดังนี้






mind map แผ่นผับหน่วยส้ม






บรรยากาศในห้องเรียน



การนำไปประยุกต์ใช้

                เราสามารถนำกิจกรรมการทำแผ่นผับขอความร่วมมือผู้ปกครองนี้เราสามารถนำไปใช้ในการขอความร่วมมือผู้ปกครองเด็กๆได้ในการจัดการเรียนการสอนได้จริง และเรายังสามารถนำวิธีการทำแผ่นผับนี้ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ หรือในรายวิชาอื่นๆได้จริง

การประเมินผลการเรียน

ตนเอง : วันนี้รู้สึกไม่ค่อยสบายเลยทำกิจกรรมไม่เต็มที่ แต่ก็มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมดี

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิด ตั้งใจและช่วยกันทำแผ่นผับดีมาก

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีธุระต้องไปทำ แต่อาจารย์ก็ไม่ทิ้งการสอนอาจารย์ยังมีกิจกรรมฝากไว้ให้นักศึกษาทำในชั้นเรียนด้วย               
               

หมายเหตุ : สัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนสัปดาห์สุดท้ายของภาคเรียนที่ 1 / 2557



 


ถ้ามีโอกาสคงได้พบกันอีก......ส่วนเทอมนี้บ๊าย  บายยย



วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557





สรุป VDO 


เรื่อง  นม + สี + น้ำยาล้างจาน สำหรับเด็กปฐมวัย


     กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับน้ำและเป็นกิจกรรมการส่งเสริมเด็กในทักษะการสังเกตและยังเป็นการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็กในการเปลี่ยนรูปร่างต่างๆและการผสมผสานของสีแต่ละสีโดยคุณครูจะเป็นคนสาธิตวิธีการทำให้เด็กๆได้สังเกต และครูก็จะมีการตั้งคำถามปรายเปิดกับเด็กๆว่า "เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะ  ทำไมถึงเป็นแบบนี้" เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้คิดและจิตนาการณ์กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่ายๆและหาสื่อในการทำได้ง่ายมาก

อุปกรณ์การทำ

1. กะละมัง
2. นม
3. สี
4. น้ำยาล้างจาน


ขั้นตอนการทำ

1. นำนมและสีเท่ลงใสในกะละมังที่เตรียมไว้
2. หยดน้ำยาล้างจานใส่ลงไปในนมและสี
3. หยดลงไปเรื่อยๆตามที่เราต้องการ

สิ่งที่เกิดขึ้น

        เมื่อเรานำน้ำยาล้างจานหยดลงใส่ในนมและสี ปรากฎว่านมและสีไหลรวมกันกลายเป็นรูปร่างที่หลากหลายมาก


ข้อควรระวัง

           ครูควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และควรระวังเด็กอาจจะหยิบกินน้ำยาล้างจาน


การนำไปประยุกต์ใช้

             เราสามารถนำกิจกรรมนี้ไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนรูปร่างต่างๆที่เกี่ยวกับของเหลว และเรายังนำไปเป็นแนวทางในการคิดหาวิธีการจัดกิจกรรมต่างได้ต่อไป



     
  


อย่าลืมลองเอาไปทำดูนะจ๊ะ....สู้ สู้










ชื่อวิจัย

           ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

           สำรวย   สุขชัย

ความมุ่งหมายของการวิจัย

    1. เพื่อศึกษาระดับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำแนกรายทักษะ

กลุ่มตัวอย่าง

         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน ในระหว่างการทดลองผู้ปกครองพาเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองลากลับภูมิลำเนา 3 คน กลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยในการทดลองครั้งนี้ จึงมีเพียง 27 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

      1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย
      2. ตัวแปรตาม   ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ ประกอบด้วย
           2.1 ทักษะการจำแนกประเภท
           2.2 ทักษะการสื่อความหมาย
           2.3 ทักษะการลงความเห็น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

      1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปผลวิจัย

        ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 


   


รีบๆอ่านนะจ๊ะ...ได้ความรู้เยอะเลย...สู้ สู้ 

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557





           วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนจากการให้นักศึกษานำสื่อของตนเองมาจัดหมวดหมู่ว่าสื่อของตนเองอยู่กลุ่มไหน ซึ่งอาจารย์จะให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อแล้วบอกว่าของตนเองจัดอยู่ในกลุ่มใดบ้าง โดยในการจัดหมวดหมู่สื่อวิทยาศาสตร์วันนี้ ได้หมวดหมู่ของสื่อในการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์ ดังนี้

การจัดหมวดหมู่สื่อมีทั้งหมด 7 กลุ่ม
ดังนี้

1. กลุ่มเรื่องแรงโน้มถ่วง
2. กลุ่มเรื่องอากาศ
3. กลุ่มเรื่องเสียง
4. กลุ่มเรื่องการทำมุม
5. กลุ่มเรื่องน้ำ
6. กลุ่มเรื่องพลังงาน
7. กลุ่มเรื่องแสง

หมายเหตุ : สื่อวิทยาศาสตร์นี้เป็นสื่อที่นักศึกษาจัดทำขึ้นเอง สามารถนำไปสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องต่างๆของวิทยาศาสตร์ได้จริง





ภาพกิจกรรมการจัดหมวดหมู่สื่อ


           หลังจากจัดหมวดหมู่สื่อเสร็จวันนี้อาจารย์ก็เริ่มสอนเกี่ยวกับการทำของเหลวให้กลายเป็นของแข็ง โดยการทำ "น้ำหวานแช่แข็ง" ซึ่งกิจกรรมนี้อาจารย์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดลองครั้งนี้

การทำ "น้ำหวามแช่แข็ง"

อุปกรณ์การทำ

1. น้ำเปล่า
2. น้ำแดง
3. กรวย
4. ช้อน
5. เกลือ
6. ถุงพาสติก
7. ยาง
8. น้ำแข็ง
9. กระติกน้ำ

ขั้นตอนการทำ

1. เท่น้ำเปล่าผสมกับน้ำแดงลงในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วขนให้เข้ากัน (ผสมตามที่เราต้องการ)
2. นำถุงพร้อมกับกรวยรองน้ำมา แล้วใช้ชั้นหรือแก้วตักน้ำแดงที่ผสมแล้วใส่ถุง แล้วนำยางลัดให้แน่น
3. เท่น้ำแข็งใส่ภาชนะที่เตรียมไว้แล้วนำถุงน้ำแดงมาวางบนน้ำแข็ง แล้วโรยเกลือให้ทั่วพร้อมกับนำน้ำแข็งถ่มทบถุงน้ำแดงอีกรอบ
4. เขย่าหรือหมุนภาชนะที่ใส่ถุงน้ำแดงไปมาจนกว่าถุงน้ำแดงจะแข็ง

ผลที่ได้

        จากที่ก่อนหน้านี้ถุงน้ำแดงเป็นน้ำที่เหลวอยู่นั้นเมื่อนำไปวางบนน้ำแข็งพร้อมกับโรยเกลือแล้วเขย่านั้น ปรากฎว่าเมื่อเวลาผ่านไปถุงน้ำแดงจากที่เหลวเป็นน้ำอยู่นั้นกลายมาแข็งตัวเป็นน้ำแข็งแทน

สาเหตุ

          จากถุงน้ำแดงที่เป็นน้ำเหลวกลายมาเป็นก้อนน้ำแข็งนั้น เป็นเพราะว่าเกลือเป็นตัวดูดความชื่นของน้ำจนทำให้ถุงน้ำแดงจับตัวกันเป็นก้อนกลายเป็นน้ำแข็ง





ตัวอย่างภาพการทำ "น้ำหวานแช่แข็ง"

การนำไปประยุกต์ใช้

            เราสามารถนำการทดลองเกี่ยวกับเรื่อง "น้ำ" นี้นำไปจัดการเรียนการสอนเด็กได้ และยังนำไปเป็นแนวทางในการคิดหาวิธีทดลองใหม่ๆต่อไปได้

การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้สนุกมากการทดลองเรื่องน้ำ ได้รู้ถึงเหตุผลต่างๆที่ทำให้ของเหลวกลายเป็นของแข็ง และยังได้ผ่อนคลายไปด้วยในการเรียน และยังทำให้ไม่น่าเบื่อในการเรียน

เพื่อน : เพื่อนๆต่างยิ้มแย้ม สนุกสนานกับการทำกิจกรรมมาก เพื่อนตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้เตรียมตัวการสอนมาพร้อมเหมือนทุกๆสัปดาห์ มีการสอนที่หลากหลายไม่ทำให้น่าเบื่อในการเรียน





วันนี้แม่ไก่กับลูกไก่กลับบ้านก่อนนะแล้วค่อยมาสนุกกันใหม่ บ๊าย บาย





วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 18 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557







          วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการทำขนมวาฟเฟิลซึ่งอาจารย์ได้เป็นผู้เตรียมอุปกรณ์ในการทำทุกอย่าง และอาจารย์ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันและได้ทำกันทั่วถึงทุกคน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้



อุปกรณ์ในการทำ

    1. ถ้วย          4. ไข่ไก่       7. นม
    2. ช้อน         5. แป้ง         8.กะทะทำขนม  
    3. น้ำ            6. เนย         




ตัวอย่างภาพอุปกรณ์


ขั้นตอนการทำ

1. นำไข่ไก่ น้ำ และแป้งใส่ภาชนะผสมกัน แล้วตีส่วนผสมต่างๆให้เข้ากัน

2. หยอดแป้งลงบนพิมพ์วาฟเฟิลที่ทาเนย และร้อนดีแล้วหยอดใส่จนเต็มแม่พิมพ์

3. อบไว้ประมาณ 3 - 4 นาที เราก็จะได้วาฟเฟิลแล้ว




ตัวอย่างภาพการทำ



สรุป
     
         จากกิจกรรมนี้เราจะได้เรียนรู้ถึงวิทยาศาสตร์ในเรื่องของกระบวนการขั้นตอนการทำขนมวาฟเฟิลหรือขนมรังผึ้ง ว่าในขั้นตอนการทำที่ถูกต้องควรทำอย่างไรและมีวิธีการทำเป็นเช่นไร  และยังบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของ เวลา รูปร่าง รูปทรง การจำแนก ซึ่งกิจกรรมนี้ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนานในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี



การนำไปประยุกต์ใช้

           เราสามารถนำกิจกรรมเหล่านี้เป็นแนวทางในการนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ และยังช่วยให้เรารู้วิธีการจัดกิจกรรมให้เหมาะแก่เด็ก


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้สนุกมากกับการทำขนมรังผึ้ง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

เพื่อน : เพื่อนๆต่างสนุกสนานกับการทำขนมมาก ทุกคนตั้งใจในการทำเป็นอย่างมาก

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้เตรียมการสอนเป็นอย่างดี และอาจารย์ยังอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการทำในการนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กๆฟัง





วันนี้สนุกมากๆเลยจ้าาาา


วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557







               วันนี้อาจารย์ให้นักเรียนกลุ่มที่เหลือจากอาทิตย์ที่แล้วออกมานำเสนอแผนของตนเอง ซึ่งวันนี้เป็นการนำเสนอ ชนิด ลักษณะ ของแต่ละหน่วย ดังนี้







1.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงประกอบท่าทาง "เพลง ชนิดของส้ม"

                                  ส้ม ส้ม ส้ม                         หนูรู้จักส้มหรือเปล่า
                                  ส้มมีหลากหลายไม่เบา     ทั้งส้มเขียวหวาน ส้มจีน
                                  อีกทั้งส้มเช้ง โชกุล           หนูๆลองทานส้มเอ่ย
                     
2.ครูถามเด็กว่าจากเพลงที่ร้องมีส้มอะไรบ้าง และเด็กๆรู้จักส้มอะไรบ้างนอกจากในเนื้อเพลง



1.ครูนำตะกร้าโดยมีผ้าปิดไว้มาให้เด็กดู จากนั้นครูให้เด็กทายว่าข้างในตะกร้ามีอะไร
2.ครูเปิดผ้าแล้วหยิบส้มจากตะกร้ามาให้เด็กสังเกต และตอบว่าเป็นส้มชนิดใดจนครบ
3.ครูให้เด็กๆช่วยกันนับส้มทั้งหมด พร้อมให้ตัวแทนออกมาหยิบป้ายตัวเลขฮินดูอารบิกปักกำกับไว้
4.ครูให้เด็กหยิบส้มแมนดารินแยกออกจากกลุ่มจนหมด แล้วถามเด็กๆว่าส้มแมนดารินกับที่ไม่ใช่ส้มแมนดาริน ส้มชนิดไหนมีมากกว่ากัน
5.ให้เด็กพิสูจน์โดยให้เด็กออกมาจับคู่แบบ 1 ต่อ 1 ถ้ากลุ่มใดหมดก่อนแสดงว่ากลุ่มนั้นน้อยกว่า ถ้ากลุ่มใดยังเหลือแสดงว่ากลุมนั้นน้อยกว่าแล้วนับจำนวนที่เหลือว่ามากกว่าเท่าไหร่




ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงชนิดของส้ม และร่วมกันต่อจิ๊กซอร์รูปส้ม





ตัวอย่างภาพการสอน


                กลุ่มนี้เป็นกลุ่มดิฉันเอง ซึ่งเป็นการสอนเกี่ยวกับชนิดของส้ม และมีการบูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับพร้อมกับกำกับเลขฮินดูอารบิก การเปรียบเทียบ จำแนก โดยมีการต้องคำถามให้เด็กตอบ

                คำแนะนำอาจารย์ ควรฝึกการเรียงลำดับขั้นตอนการสอนให้ฟังราบรื่นมากกว่านี้ และควรฝึกพูดในการตั้งคำถามให้เหมาะสม



กลุ่มที่ 1 หน่วยสับปะรด



             กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อประโยชน์ของสับปะรด ซึ่งกลุ่มนี้ได้สาธิทการทำน้ำสัปะรด โดยสอนถึงขั้นตอนการทำพร้อมกับอธิบายและสาธิท
             คำแนะนำอาจารย์ ไม่ศึกษาถึงการทำน้ำสับปะรดให้ถูกต้องและเหมาะแก่การนำมาสอนเด็ก และควรมีการแนะนำถึงอุปกรณ์ให้เด็กๆได้รู้จักก่อน


กลุ่มที่ 2 หน่วยดิน




             กลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับชนิดของดิน ซึ่งได้เริ่มขั้นนำโดยการพูดคำคล้องจอง และมีการนำดินจริงมาเป็นสื่อเพื่อให้เด็กๆได้เห็นของจริง

             คำแนะนำอาจารย์ ควรไปฝึกการพูดให้เหมาะสม และควรเปลี่ยนรูปภาพของดินให้ใช้ดินเป็นของจริงๆแทน และควรปรับการเรียงชนิดของดินให้เป็นแนวเดียวกันเพื่อไม่ทำให้เด็กสับสน



กลุ่มที่ 3 หน่วยทุเรียน




กลุ่มนี้ได้สอนเกี่ยวกับลักษณะของทุเรียน ซึ่งมีทุเรียนอยู่ 2 พันธ์ คือ พันธ์หมอนทอง กับพันธ์ชนี โดยกลุ่มนี้มีการใช้ภาพทุเรียนแต่ละพันธ์เป็นสื่อในการสอนเพื่อใช้แทนของจริง

คำแนะนำอาจารย์ ควรฝึกการพูดและฝึกในขั้นตอนการสอนให้เห็นถึงลำดับการสอนที่ถูกต้อง และควรมีการใช้ตารางเปรียบเทียบทุเรียน 2 พันธ์ให้ถูกต้อง แล้วควรนำมาหาความสัมพันธ์



กลุ่มที่ 4 หน่วยน้ำ





             กลุ่มนี้ได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องน้ำ โดยใช้การทดลองเกี่ยวกับลักษณะของน้ำ กับการเดินทางของน้ำ ซึ่งมีการทดลองอยู่ 3 วิธี คือ 1.การทอลองลักษณะของน้ำ(การใช้ภาชนะที่ต่างกัน)  2.การทดลองเกี่ยวกับการเดินทางของน้ำ(เดินทางจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ) 3.การทอลองการเปลี่ยนสถานะ(ของแข็งเป็นของเหลว)

            คำแนะนำอาจารย์ ควรมีการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กตอบ และควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทดลองด้วยโดยอาจจัดแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นฐาน



กิจกรรมไข่หรรษา(อาจารย์เป็นผู้จัด)

             หลังจากที่นักเรียนได้นำเสนอเกี่ยวกับหน่วยต่างๆเสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็ให้นักเรียนได้ไปร่วมกิจกรรมของอาจารย์เกี่ยวกับการทำขนมครกไข่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อาจารย์เป็นคนจัดเตรียม และอาจารย์ได้มีการจัดกิจกรรมในขั้นตอนการทำออกเป็นฐานมีทั้งหมด 5 ฐาน เพื่อให้เห็นถึงวิธีการสอนเด็กทำอาหารอย่างถูก และให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรม ซึ่งจะแบ่งนักเรียนอยู่ในฐานออกเป็นฐานละ 5 คน มีฐาน 5 ฐาน ดังนี้


ฐานที่ 1  ฐานตัดกระดาษ


 


ฐานนี้จะเป็นฐานแรกที่จะให้เด็กๆช่วยกันตัดกระดาษเป็นวงกลมเพื่อเตรียมรองใส่อาหาร



ฐานที่ 2  ฐานหั่นผัก





ฐานนี้เป็นฐานหั่นผักเพื่อเตรียมนำผักที่หั่นไปให้กับฐานที่ปรุงอาหาร



ฐานที่ 3 ฐานตอกไข่ ตีไข่




ฐานนี้เป็นฐานที่จะต้องตอกไข่ ตีไข่ เพื่อจะนำไปให้กับฐานที่ปรุงอาหาร



ฐานที่ 4 ฐานปรุงอาหาร




                          ฐานนี้เป็นฐานที่จะต้องปรุงอาหารก่อนที่จะนำไปทำ ซึ่งเครื่องปรุงในการทำอาหารมี ดังนี้ หอม ซีอิ๊ว ปูอัด แครอท ซอส ข้าว ไข่


ฐานที่ 5 ฐานทำอาหาร





ฐานนี้เป็นฐานสุดท้ายเป็นฐานที่ต้องลงมือปฏิบัติทำขนมครกไข่ 



            กิจกรรมการทำอาหารที่แบ่งเป็นฐานๆนี้เมื่อเรานำไปสอนเด็กเราก็ควรทำเป็นฐาน เพื่อเด็กๆจะได้ร่วมทำอาหารร่วมกัน และในฐานแต่ละฐานเด็กๆจะต้องหมุนเวียนเปลี่ยนกันทำให้ครบทุกฐาน เพื่อเด็กๆจะได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนการทำได้ครบถ้วนทุกขั้นตอน



การนำไปประยุกต์ใช้

         เราสามารถนำคำแนะนำของอาจารย์เกี่ยวกับการสอนแผ่นต่างๆไปปรับแก้ไขเพื่อนำไปสอนเด็กได้ และในกิจกรรมการทำขนมครกไข่ของอาจารย์นี้เราก็สามารถนำไปเป็นแนวทางในการนำไปสอนเด็ก โดยใช้การแบ่งฐานเพื่อให้เด็กได้ร่วมกิจกรรม และรู้ถึงขั้นตอนการทำ

การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ได้ทั้งความรู้เกี่ยวกับการสอน และการวางแผนในขั้นตอนการสอนที่ถูกต้อง และยังสนุกสนานกับการได้ทำขนมครกไข่

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างสนุกสนานกับการทำกิจกรรมมาก และยังตั้งใจให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนได้ชัดเจนมาก และอาจารย์ยังมีการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนได้ทำ เพื่อให้เห็นถึงขั้นตอนการสอนที่ชัดเจนมากขึ้น






    

วันนี้สนุกมากเลยไว้เจอกันสัปดาห์หน้านะจ๊ะเพื่อนๆ



วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557



           วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอแผนแต่ละหน่วยที่ทุกกลุ่มได้เตรียมมาต้องแต่อาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งวันนี้เป็นการนำเสนอแผนในการแปรรูป โดยกลุ่มที่นำเสนอวันนี้เป็นการนำเสนอการทำอาหารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยของตนเอง มีกลุ่มที่นำเสนอ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 หน่วยไข่


          กลุ่มนี้มีการนำเสนอขั้นนำด้วยการร้องเพลงคำคล้องจองที่เกี่ยวกับไข่ ขั้นสอนเพื่อนๆก็มีการแนะนำถึงอุปกรณ์ในการทำอาหารให้เรารู้จัก และเริ่มทำอาหารเป็นไปตามลำดับขั้นตอนพร้อมกับการพูดและอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการทำ

           คำแนะนำอาจารย์ ดังนี้ ไม่ควรเปิดการสอนเริ่มแรกด้วยคำคล้องจอง แต่เป็นการพูดถึงเรื่องที่จะนำมาสอนวันนี้ให้เด็กๆเข้าใจ



กลุ่มที่ 2  หน่วยกล้วย






           กลุ่มนี้มีการนำเสนอขั้นนำด้วยการอธิบายถึงหน่วยที่ตนเองสอน และมีการอธิบายเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนการทำพร้อมกับสาธิทให้ดู โดยกลุ่มนี้ทำกล้วยฉาบเสร็จก็ได้ให้เพื่อนๆในห้องได้ชิม

           คำแนะนำของอาจารย์ อาจารย์ได้แนะนำว่าควรมีการแนะนำถึงอุปกรณ์ที่นำมาทำให้เด็กๆรู้จักก่อน



กลุ่มที่ 3 หน่วยกบ




         กลุ่มนี้มีการนำเสนอขั้นนำด้วยการร้องเพลงกบ และมีการอธิบายถึงวงจรชีวิตของกบพร้อมกับมีภาพประกอบของวงจรให้เด็กๆดู และก็ได้อธิบายเป็นช่วงอายุของวงจรกบ

         คำแนะนำอาจารย์ อาจารย์ได้แนะนำว่าก่อนจะเข้าถึงขั้นการสอนควรมีการพูดถึงกบ หรือไม่ก็ควรพาเด็กๆออกไปดูกบจากแหล่งจริงๆ เพื่อให้เด็กๆได้เห็นถึงบริบทรอบๆของกบอย่างแท้จริง


กลุ่มที่ 4 หน่วยข้าว




         กลุ่มนี้มีการนำเสนอขั้นนำด้วยการอธิบายถึงอุปกรณ์ที่นำมา และได้พูดถึงขั้นตอนวิธีการทำให้ฟังพร้อมกับการสาธิทการทำให้ดู โดยมีการสรุปถึงสิ่งที่เด็กชอบทานมากที่สุดเป็นตาราง

          คำแนะนำอาจารย์ กลุ่มนี้อาจารย์ให้คำแนะนำถึงขั้นสรุปว่าไม่ควรสรุปเป็นตารางเพราะจะทำให้เด็กๆรู้สึกเบื่อ จึงอยากให้สรุปเป็นการพูดสรุปถึงการทำอาหารในวันนี้แทน



การนำไปประยุกต์ใช้

          เราสามารถนำคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะแก่การนำไปสอนเด็กมากขึ้น และเรายังสามารถนำไปหาวิธีที่จะนำไปสอนเด็กพร้อมกับหาเทคนิคดึงดูดความสนใจเด็กมากขึ้น
             


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้รู้สึกไม่ค่อยสบายจึงเรียนไม่ค่อยสนุกสักเท่าไหร่ แต่ดิฉันก็ยังพยายามและตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี

เพื่อน  : วันนี้เพื่อนมีการเตรียมอุปกรณ์เพื่อจะนำมาเสนอการสอนเป็นอย่างดี และมีการเตรียมวิธีการสอนที่มีความดึงดูดความสนใจเพื่อนๆได้เป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำวิธีการสอน และวิธีการเรียงลำดับขั้นตอนการสอนที่ถูกต้อง เพื่อให้นักเรียนได้ เพื่อให้นักเรียนได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในการนำไปใช้ในครั้งต่อไป