คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ.2557







             การสอนในวันนี้อาจารย์ได้เริ่มการสอนโดยการให้นักศึกษาจับคู่กัน 2 คน แล้วแจกกระดาษที่เป็นรูปต่างๆให้กับแต่ละคู่เพื่อให้นักศึกษาได้จัดแบ่งกัน และในขณะที่นักศึกษาตัดกระดาษอยู่อาจารย์ก็แจกกระดาษมาให้อีกคนละ 1 แผ่น และให้นักศึกษาผับครึ่งกระดาษแล้ววาดรูปอะไรก็ได้โดยในการวาดภาพนั้นต้องมีความสอดคล้องกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น รูปไก่ กับ รูปสุ่มไก่ 


กิจกรรมที่ 1




ตัวอย่างรูปภาพของฉัน




ตัวอย่างกิจกรรมของเพื่อน

            จากกิจกรรมนี้เราจะได้เรียนรู้ถึงการประยุกต์ของเหลือใช้มาประดิษฐ์สื่อในการเรียนการสอนแบบง่ายๆ หากเรานำกิจกรรมนี้ไปให้เด็กปฐมวัยได้ทำเด็กๆก็จะได้เรียนรู้โดยการลงมือทำจริงได้สร้างชิ้นงานของตัวเอง ซึ่งเด็กๆจะมีวิธีการเรียนรู้โดยผ่านการใช้สัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก
อุปกรณ์
1.กระดาษสี 
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.แท็ปใส
4.สีไม้
5.กรรไกร

วิธีทำ
1.ตัดกระดาษให้เป็นรูปผืนผ้า(ยาวพอประมาณ)
2.ผับครึ่งของส่วนของกระดาษให้เท่ากัน
3.วาดรูปที่สอดคล้องกันใส่ด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษ
4.ตกแต่งให้สวยงาม
5.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาว่างระหว่างกลางของกระดาษ
6.นำแท็ปใสมาติดระหว่างตรงกลางไม้กับกระดาษและปลายของกระดาษ

ทักษะที่เด็กจะได้รับ
1.การสังเกต
2.การคาดคะเน
3.การจัดหมวดหมู่
4.การคิดและจิตนาการอย่างสร้างสรรค์

          หลังจากที่ทำกิจกรรมประดิษฐ์นี้เสร็จอาจารย์ก็นำกระบอกที่ทำมาจากแกนทิสชู้มาให้นักศึกษาได้ดูโดยให้เวียนกันดูทุกคน

กิจกรรมที่ 2


 

ตัวอย่างกิจกรรม


         จากกิจกรรมนี้เราจะได้เรียนรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องสี  และเรายังสามารถเรียนรู้การเดินทางของแสงเมื่อผ่านแผ่นพาสติกใสที่มีสีต่างกัน ซึ่งจากกิจกรรมนี้เราจะได้ทักษะ คือ 1.การสังเกต เช่น รูปร่าง รูปทรง ขนาด ความกว้าง 2.การเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบสีของพาสติกสีที่ต่างกัน

กิจกรรมที่ 3 

                  กิจกรรมนี้เป็นการทำ mind map ซึ่งเป็นงานกลุ่มที่สามารถเลือกหัวข้อหรือหน่วยที่เกี่ยวกับอะไรก็ได้ เช่น ส้ม กบ มด ดิน ทุเรียนเป็นต้น โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำ mind map และแตกหัวข้อที่เกี่ยวกับหน่วยที่กลุ่มตัวเองเลือก โดยที่ต้องจัดเรียงหัวข้อให้ถูกต้องและเหมาะสม และในการจัดเขียนหัวข้อนั้นต้องจัดตามหัวข้อ ดังนี้
1. ชนิด หรือ ประเภทของแต่ละหน่วย
2. ลักษณะ เช่น สี ขนาด รูปร่าง กลิ่น
3. ประโยชน์
4. ข้อควรระวัง หรือ โทษ
5. วิธีเก็บรักษา หรือ การบำรุง (ถ้ามี)
6. การแปรรูป 




ตัวอย่างกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม




ตัวอย่างกลุ่มดิฉัน



สรุปการทดลองจาก VDO 





การนำไปประยุกต์ใช้

            เราสามารถนำกิจกรรมเหล่านี้ไปจัดในการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ และเรายังสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ในการเรียนการสอนแบบง่ายๆให้กับเด็กๆได้เรียนรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของเศษวัสดุเหลือใช้

การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้รู้สึกสนุกสนานในการเรียนและการทำกิจกรรมในวันนี้เป็นอย่างมาก เป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อ และรู้สึกเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นในการจัดการเรียนการสอนนี้

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างสนุกสนานในการเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และยังช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ได้ดีมาก

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีการสอนในรูปแบบที่ให้ลงมือทำจริง ปฎิบัติจริง ซึ่งเป็นการสอนที่ทำให้เห็นชัดเจนขึ้นกับเรื่องราว หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และยังทำให้การเรียนการสอนไม่รู้สึกเบื่อ






วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 16 เดือน กันยายน พ.ศ.2557








          วันนี้อาจารย์เริ่มการสอนโดยให้เพื่อนๆออกไปอ่านบทความ ซึ่งวันนี้อาจารย์ให้เพื่อนอ่านบทความแค่ 2 บทความ หลังจากเพื่อนอ่านเสร็จอาจารย์ก็ให้คำแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับบทความของเพื่อนๆว่ามีจุดประเด็นตรงไหนที่สำคัญ


บทความที่ 1 เรื่องวิทยาศาตร์กับเด็กปฐมวัย
            สิ่งที่เด็กจะเรียนรู้จะต้องเป็นเรื่องที่หรือสิ่งที่ใกล้ตัว เช่น ดิน หิน อากาศ เด็กจะต้องเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้เพื่อแก้ไขปัญหาและค้นหาความจริงที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ซึ่งผู้เรียนจะได้ทักษะในการเรียนรู้ อยู่ 3 ทักษะ คือ 1. การสังเกต 2. การจำแนก 3. การเรียงลำดับ  ซึ่งกิจกรรมนี้จะมีความสำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เห็นคุณค่าในตัวเอง

สาระที่เด็กควรเรียนรู้มี 4 สาระ คือ
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัว
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


บทความที่ 2 เรื่องการสอนเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติมีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญ
- เพราะมีผลกระทบต่อชีวิตเรา
- ทำให้เกิดความไม่สมบรูณ์ต่างๆ

การพัฒนาทักษะ
- การสังเกต
- การเปรียบเทียบ
- การอภิปราย
- การสรุป
- การปฎิบัติ


            จากบทความทั้ง 2 บทความนี้สรุปได้ดังนี้ วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือการที่เด็กได้ลงมือปฎิบัติทำจริง และได้สร้างชิ้นผลงานของตัวเองขึ้น ซึ้งการเรียนรู้นี้จะใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ กาย(การสัมผัส) ตา หู จมูก ลิ้น   โดยการเรียนรู้นี้เราสามารถใช้สื่อต่างๆสอดแทรกได้ เช่น เพลง 

            หลังจากที่อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับบทความของเพื่อนเสร็จอาจารย์ก็พาเราร้องเพลงเต่า เนื้อเพลงเต่าเป็นเนื้อเพลงสั้นๆ และเป็นสิ่งรอบตัวที่เด็กที่รู้จัก เนื้อเพลงเต่า มีดังนี้

เพลง เต่า

  เต่า เต่า เต่า       เต่ามันมีสี่ขา
    สี่ตีน(เท้า)เดินมา        มันทำหัวผุดผุด โพล่โพล่





สรุปการดู VDO เรื่องความลับของแสง


การนำไปประยุกต์ใช้

            เราสามารถนำนิทานเรื่องความลับของแสงเป็นแนวทางหรือเป็นหลักในการไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆได้ เช่น การเรียนการเดินทางของแสง ซึ่งเราสามารถนำตัวอย่างในนิทานนี้ไปปรับเปลี่ยนเพื่อนำไปให้เด็กๆได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสงได้

การประเมินผล

ตนเอง ; รู้สึกสนุกสนานกับการนั่งดู VDO เรื่องความลับของแสงมาก เพราะเป็นนิทานที่ได้ทั้งความสนุกสนาน และได้ความรู้

เพื่อน ; วันนี้เพื่อนๆต่างตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร้องเพลง และช่วยกันคิดและตอบคำถามอาจารย์เป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีถึงแม้ว่าวันนี้ VDO ที่อาจารย์เตรียนมาสอนนั้นจะเปิดไม่ได้แต่อาจารย์ก็มีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ โดยให้หัวหน้าไปโพติ VDO ลงกลุ่มแล้วให้นักศึกษาไปดูและสรุปเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาจารย์มีความพยายามและไม่ละเลยในการสอนเป็นอย่างดี 

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557






บทความเรื่อง จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ....สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์ 

            ของเล่นนี้อยู่คู่กับเด็กทุกๆคนและการเล่นก็เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งที่สามารถกระตุ้นและจุดประกายความสนใจในการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ กิจกรรมสนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพื่อเด็กจะได้ทดลองค้นคว้า โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ผ่านการทดลองโดยใช้กระบวนการผ่านการเล่นของเด็กๆ





สรุปบทความเป็น mind map



วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ 2557









             วันนี้อาจารย์ได้เริ่มการสอนโดยให้เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ 5 บทความ  โดยสรุปเป็น mind map ได้ ดังนี้


บทความที่ 1



บทความที่ 2


บทความที่ 3




บทความที่ 4



บทความที่ 5




ขั้นการสอน


             วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับ ความสำคัญวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ พื้นฐานและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์  ซึ่งสรุปเป็น mind  map ดังนี้






การนำไปประยุกต์ใช้

             เราสามารถนำหลักการหรือพื้นฐานเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมต่างๆให้แกเด็ก ซึ้งเราอาจจะคำนึงถึงพื้นฐานหรือเจตคติของเด็กว่าเด็กแต่ละช่วงอายุเป็นอย่างไร เราจะได้วางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ช่วงชั้น

การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ได้เตรียมพร้อมกับการนำเสนอบทความเป็นอย่างดี อาจจะมีตื่นเต้นบ้างเล็กน้อยแต่ก็ทำได้ตามความตั้งใจไว้เป็นอย่างดี

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างตั้งใจฟัง และช่วยกันคิดหาถึงจุดประเด็นของใจความสำคัญๆของบทความเป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้แนะนำถึงวิธีการจับใจความสำคัญ และอธิบายถึงบทความนั้นๆได้เป็นอย่างดี



      

Goodbye






วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 2 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557








            วันนี้ก่อนที่อาจารย์จะเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาออกไปนำเสนอบทความ ซึ่งอาจารย์จะให้ออกมานำเสนอบทความอาทิตย์ละ 5 คน โดยให้นักศึกษาจะต้องจัดกลุ่มกันเอง และให้เตรียมตัวออกไปนำเสนอทีละ 5 คน ทุกๆสัปดาห์ก่อนจะเข้าถึงการสอนของรายวิชา

การนำเสนอบทความ 5 คน

คนที่ 1 บทความเรื่องวิทยาศาสตร์กับการทดลอง ซึ่งบทความนี้จะมีทักษะพื้นฐานคือ การสังเกต และการจำแนก 

คนที่ 2 บทความเรื่องภาระกิจตามหาใบ้ไม้ ซึ่งบทความนี้จะใช้กระบวนการสืบเซาะ โดยการตั้งคำถาม การสำรวจ และการตอบคำถาม และยังมีการประยุกต์ใช้กับวิชาคณิตศาสตร์(รูปร่าง การจำแนก) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

คนที่ 3 บทความเรื่อง.........ซึ่งบทความนี้เป็นการประยุกต์ใช้กับวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

คนที่ 4 บทความเรื่องการแยกเมล็ดพืช ซึ่งมีการประยุกต์ใช้กับวิชาคณิศาสตร์(รูปร่าง ขนาด พื้นผิว)

คนที่ 5 บทความเรื่องเป่าลูกโป่ง เป็นการประยุตร์ใช้กับวิชาคณิตศาสตร์ และศิลปะ

ขั้นการสอน

           วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับธรรมชาติของเด็ก และได้อธิบายถึงการใช้หลักการหรือแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆว่ามีควาสำคัญอย่างไร ความหมาย ขั้นตอน  และการนำแนวคิดไปสู่การปฎิบัติ

ธรรมชาติของเด็ก
- พอใจคนที่ตามใจ
- มีช่วงความสนใจสั้น 8-10 นาที 
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
- ชอบถาม ''ทำไม" ตลอดเวลา
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
- ช่วยตนเองได้

การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก

1. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
2. จัดให้เด็กได้ฝึกทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
3. จัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
4. จัดให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม

นักทฤษฎี

- เพียเจท์ พัฒนาการด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
- เปสตาลอสซี่
- เฟรตเบล
- เอลดายล์

ขั้นกิจกรรม

              หลังจากที่อาจารย์สอนเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนเขียนสรุปความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ส่งท้ายคาบ

การนำไปประยุกต์ใช้

            เราสามารถนำการสอนเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆไปปรับใช้ในการจัดการวางแผนในการจัดกิจกรรมต่าๆชงๆให้กับเด็กๆได้ และเรายังสามารถนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆได้

การประเมินผล

ตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดี และตั้งใจฟังและจดบันทึกข้อความสำคัญไว้อยู่เสมอ

เพื่อน : เพื่อนๆมีความพร้อมในการเตรียมตัวอ่านบทความกันเป็นอย่างดี 

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนได้ละเอียดและชัดเจนมาก ทำให้เรียนและเข้าในเรื่องนั้นๆได้ง่ายขึ้น






บ๊าย บาย ไว้เจอกันสัปดาห์หน้าจ้าาาา...^^


วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557








ความรู้ที่ได้รับ

             วันนี้อาจารย์เริ่มการสอนโดยการบรรยายถึงเรื่องราวในการที่จะนำมาสอนเด็ก โดยอาจารย์เรื่องสอนที่ใกล้ๆกับตัวเด็ก เช่น เรื่องไข่ไก่  และการสอนนี้อาจารย์จะมีการตั้งคำถามกับเด็กๆ เช่น อะไร อย่างไร เพื่อที่จะให้เด็กๆได้ใช้ความคิดและกล้าที่จะตอบคำถาม




รูปภาพไข่ไก่


ไข่ไก่เกี่ยวอย่างไรกับวิทยาศตร์

              ไข่ไก่นี้สามารถนำมาให้เด็กได้ทดลองในการเรียนได้ เช่น การให้เด็กตอกไข่ไก่ ซึ่งจะเป็นการทำให้เด็กได้เรียนรู้และสามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้ เช่น รูปทรง ขนาด สี  ซึ่งเราจะเลือกไข่ไก่ในการที่ให้เด็กได้เรียนรู้ โดยให้เด็กได้เรียนผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งการเรียนรู้นี้ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เครื่องมือการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

สาระการเรียนรู้

- เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
- เป็นเรื่องที่เด็กสนใจ
- เป็นเรื่องที่มีผลกระทบเกี่ยวกับเด็ก

สรุปความหมายวิทยาศาสตร์

              วิทยาศาตร์ หมายถึง ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ความพยายามเช่นนี้จะติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิดซึ่งจะสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกต และคอยสักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาได้พบเจอ


การนำไปประยุกต์ใช้

           เราสามารถนำแนวการสอนของอาจารย์ไปเป็นแบบอย่างในการเลือกเรื่องที่จะไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆได้ 


การประเมิน

ตนเอง : วันนี้ตั้งใจในการฟังอาจารย์สอนและอธิบายเป็นอย่างดี 

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างตั้งในฟังและตั้งใจในการจดบันทึกขณะอาจารย์อธิบายกันเป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างที่ใกล้ๆตัว และอธิบายแนวการสอนได้อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น



                         

                   แล้วเจอกันสัปดาห์หน้านะจ๊ะ....^^
                                                    



วัน อังคาร ที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557







ความรู้ที่ได้รับ

               วันนี้เป็นสัปดาห์แรกในการเรียนการสอนในรายวิชา วันนี้อาจารย์ก็ได้แจกแนวการสอนและอธิบายถึงการสอนรายวิชาในเทอมนี้ว่าต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง และได้พูดถึงการวางแผนในการบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กๆ และอาจารย์ยังได้บรรยายเกี่ยวกับพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย 

ในรายวิชานี้อาจารย์จะมุ่งให้นักศึกษาเกิดผลสัมฤทธิ์ในการศึกษา ดังนี้
     1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
     2.ด้านความรู้
     3.ด้านทักษะปัญญา
     4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
     5.ด้านทักะเชิงวิเคราะห์
     6.ด้านการจัดการเรียนรู้

           สุดท้ายนี้อาจารย์ได้บอกวิธีการทำบล็อกว่าทำอย่างไร ควรมีอะไรใส่ไว้ในบล็อกบ้าง แล้วอาทิตย์หน้าอาจารย์ก็จัดให้หัวหน้ากลุ่มมาลิงค์บล็อกของเพื่อนๆแต่ละคน

การนำไปประยุกต์ใช้
           เราสามรถนำคำอธิบายเกี่ยวกับวิชานี้ไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นได้ และยังใช้เป็นแนวทางในการวางแผนจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆได้

หมายเหตุ : วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน

ที่มา : สรุปการเรียนวันนี้จากบล็อกของนางสาวจิรัสยา สัตตัง